แท้จริงแล้วการควบคุมมอเตอร์กระแสตรงนี้ มีมากมายหลายวิธี แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้มีัอะไรๆ ที่มันง่ายขึ้นต่อการควบคุม ในครั้งนี้ ผมได้ยกตัวอย่างการใช้งาน L2998 มาควบคุมมอเตอร์กระแสตรง ด้วยวิธีง่ายๆ แต่ใช้ได้จริง
เรามาดู สเปกแบบคร่าวๆ ไม่ต้องใ่ส่ใจในรายละเอียดมากมายนักกันกว่า
ในรายละเอียดจาก Data Sheet ที่ผมตัดมาบางส่วน สามารถบอกในสิ่งที่เราต้องการได้พอสมควร
1. สามารถใช้แรงดันขับมอเตอร์ได้สูงสุด 50V ( ยังไม่เคยเล่้นขนาดนั้นหรอกครับ แค่ 12 Volt นี้ก็ร้อนละ)
2. สัญญาณ Logic สูงสุด 7 Volt แต่ผมทดสอบจริง 3.3 - 5 Volt ก็เป็น Logic แล้วนะ
3. สามารถขับมอเตอร์ ได้สองตัวด้วย IC ตัวเดียว
4. สามารถใช้การควบคุมแบบ Full Speed หรือแบบ Pulse สำหรับปรับ Speed ได้ด้วยเช่นกัน
5. สามารถควบคุมทิศทางมอเตอร์ด้วยการจ่าย Logic
เอาแบบคราวๆ ก็พอจะไปต่อกันได้ละครับทีนี้เรามาดูขาสำหรับการต่อดีกว่า
เรามาดูความสามารถของขาแต่ละขาของ IC กันก่อนจะต่อนะครับ
ขา 1 ปกติต่อ Gnd ได้เลย (ผมไม่แน่ใจใช้ทำอะไร ใครรู้ช่วยบอกทีนะครับ)
ขา 2- 3 ต่อเข้าขั้วมอเตอร์
ขา 4 เป็นแรงดันสำหรับมอเตอร์ โดยคำนึงถึงการลักษณะมอเตอร์(Motor Specification)เป็นหลัก
ขา 5 , 7 เป็นขาสำหรับรับ Logic 1(3.3 Volt +) , Logic 0( 0Volt ) เพื่อควบคุมมอเตอร์ A (มอเตอร์ 1)
ขา 6 Enable A คล้ายๆการเปิด-ปิด มอเตอร์ ถ้าเราจ่ายแต่ Logic เข้า 5 , 7 แต่ไม่จ่าย Enable A มอเตอร์ก็จะไม่ทำงานครับ ปกติจ่ายแรงดัน แค่ 3.3 Volt ก็จะเป็นการ Enable มอเตอร์ตัวนั้น
ขา 8 Ground ต้องเป็น Ground ร่วมนะครับ ขา 1 และ 15 ต้องต่อร่วมด้วย
ขา 9 แรงดัน สำหรับ Logic
ขา 10 , 12 เป็นขาสำหรับรับ Logic 1(3.3 Volt +) , Logic 0( 0Volt ) เพื่อควบคุมมอเตอร์ B (มอเตอร์ 2)
ขา 13 , 14 ต่อเข้าขั้วมอเตอร์
ขา 15 ปกติต่อ Gnd
ตัวอย่างการต่อแบบง่ายๆ
โดย ขา Enable สามารถจ่ายสัญญาณ PWM เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์ได้ด้วย แต่ถ้าจะใช้มอเตอร์แบบเต็มสปีดก็สามารถจ่ายเป็น Logic1 , Logic0 ได้ทันที
ขา Input 3 , 4 เมื่อจ่าย Logic1 ที่ ขา Input 3 และจ่าย 0 ที่ Input 4 มอเตอร์ก็จะหมุนไปทิศทางหนึ่ง
แต่ถ้าจ่าย Logic กลับกันมอเตอร์ก็จะกลับทิศจากเดิม
แต่ถ้าจะง่ายกว่านั้น ก็เลือกจ่าย Logic ที่ขาใดขาหนึ่งก็ได้ มอเตอร์ก็จะกลับทิศเช่นกัน ประหยัดการต่อไปอีก แต่วงจรจะดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ (แต่ผมก็ทำอยู่บางครั้งในงานที่ไม่ละเอียดมากนัก)
สราวุธ ขุมทอง
ขา Input 3 , 4 เมื่อจ่าย Logic1 ที่ ขา Input 3 และจ่าย 0 ที่ Input 4 มอเตอร์ก็จะหมุนไปทิศทางหนึ่ง
แต่ถ้าจ่าย Logic กลับกันมอเตอร์ก็จะกลับทิศจากเดิม
แต่ถ้าจะง่ายกว่านั้น ก็เลือกจ่าย Logic ที่ขาใดขาหนึ่งก็ได้ มอเตอร์ก็จะกลับทิศเช่นกัน ประหยัดการต่อไปอีก แต่วงจรจะดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ (แต่ผมก็ทำอยู่บางครั้งในงานที่ไม่ละเอียดมากนัก)
สราวุธ ขุมทอง
Thnk for Share
ตอบลบที่ว่า ขา EN ต่อเป็นพัลซ์ เพื่อควบคุมความเร็วให้กับมอเตอร์นี่ ถ้าหากเราใช้ R ไปต่อ เพื่อดรอป กระแส นี่สามารถ ใช้ได้ไหมครับผม ..
ตอบลบจ่ายกระแสได้เท่าไร
ตอบลบขอบคุณมากคับ ข้อมูลดีๆที่กำลังหาไปใช้ในการสอบพรีเซ้นโครงงาน
ตอบลบ